เพลง นับเลข

รูปถ่ายเกษมพิท

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึก21 ม.ค 53

สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคน บรรยากาศในวันนี้ ก่อนอื่นขอบอกว่าได้เรียนในห้องคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม ก็ดีใจหน่อย แต่ก็มีเพื่อนๆบางคนแอบเล่นเกมส์จนอาจาร์ยไม่พอใจ ก็น่าสงสารอาจารย์เหมือนกัน เพื่อนๆก็ร่วมตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้างเหมือนเดิม ห้องเรียนก็ไม่ค่อยหนาวเท่าไหร่ ก็เรียนได้ คอมพิวเตอร์ก็มีปัญหานิดหน่อยคะ ทุกอย่างในวันนี้ก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี



สำหรับวันนี้อาจารย์ตรวจงานที่นักศึกษาส่ง แต่ว่างานของแต่ละคนเปิดไม่ได้ อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนที่ต้องส่งงาน โดยให้นำงานจากเดิมมาแบ่งเป็น 3 ช่วง ตามระดับอายุ แล้วคุยกันว่าจะอยู่ระดับไหน แล้วจึงนำมาเขียนแผนทั้งหมด 5 วัน



ในเรื่องของการเรียนการสอนโดยทั่วไปอาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เสียส่วนใหญ่ เพราะว่านักศึกษาแต่ละกลุ่มต้องเขียนแผนฯ สำหรับเราเองก็รีบทำงานให้เสร็จเเรยบร้อยโดยเร็วค่ะ

สำหรับงานอีกอย่างหนึ่งที่อาจารย์มอบหมายให้คือ การร้อยลูกปัดเข้ากับลวดกำมะหยี่ แล้วอาจารย์ก็อธิบายว่าการร้อยลูกปัดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อย่างไร จนทุกคนเข้าใจค่ะ

บันทึกการเข้าเรียน 7ม.ค53

สวัสดีค่ะ วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งหัวข้อโดยรวมที่สอนก็อย่างเช่น
- คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
- มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
- ลักษณะหลักสูตรที่ดี
- หลักการสอน
- หลักการสอนทางคณิตศาสตร์
- ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์


สำหรับเนื้อหาโดยสรุปจากการเรียนการสอน คือ
- ในเรื่องของตัวเลขนั้น ควรให้เด็กได้คิดเห็น เขียนเอง ควรอยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กด้วย เช่น การเขียนวันที่ อายุ เลขห้อง เบอร์โทร น้ำหนัก ส่วนสูง บ้านเลขที่ จำนวนสมาชิกในห้อง จำนวนสมาชิกในบ้าน ฯลฯ
- สำหรับมาตรฐานการวัดระบบเมตริก : "ใช้เครื่องมือไม่เป็นทางการในการวัด" เช่น ฝ่ามือ แก้ว กระป๋อง
- ความเชื่อมั่นของเด็กจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเด็กทำเองด้วยความเต็มใจโดยครูเป็นผู้สนับสนุนและคอยเป็นกำลังใจ



หลักการสอนคณิตศาสตร์
1. สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กพบคำตอบด้วยตัวเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี เด็กกัดกี่คำจึงหมด
3. มีเป้าหมายและการาวงแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของพัฒนาการ ความคิดรวบยอด
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรม
6. ใช้ประโบชน์จากประสบการณ์เดิม
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ให้เด็กมีส่วนร่วมเกี่ยวกับตัวเลข
9. ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
10 เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก


บรรยากาศในการเรียนโดยทั่วไปของวันนี้หนาวมากเลย หนาวเสียยิ่งกว่าหนาวอีก อย่างกับอยู่ขั้วโลก หนาวจนทำให้มือเขียวไปหมดเลย นึกว่าตัวเองจะตายซะแล้วเชียว ส่วนบรรยากาศในการเรียนวันนี้เพื่อนก็ร่วมตอบคำถามของอาจารย์บ้าง แต่ก็มีบ้างที่ตอบคำถามไม่ได้ แต่อาจารย์ก็จะพูดและยกตัวอย่างให้เข้าใจจนเพื่อนๆสามารถตอบๆได้ สำหรับในวันนี้ก็ได้ความรู้ไปเยอะเลยค่ะ ขอบคุณค่ะอาจารย์

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จิตวิทยาในการเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้เช่น
คิมเบิล (Kimble,1964) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard &Bower,1981 )"การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์
ประดินันท์ อุปรมัย (2550, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้):นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15 ,หน้า 121)"การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม " ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรง และประสบการณ์ทางอ้อม
ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง เช่น เด็กเล็กๆที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า " ร้อน " เวลาคลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร ต่อไปเมื่อเขาเห็นกาน้ำอีก แล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับกาน้ำนั้น เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่า ร้อน ที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว เช่นนี้กล่าวได้ว่าเป็นประสบการณ์ตรง ผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม การมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่

1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
3. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
4. พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ

ประสบการณ์ทางอ้อมคือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมอได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก การอบรมสั้งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างงๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ

องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้

ดอลลาร์ด และมิลเลอร์(Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. แรงขับ (Drive) เป้ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
2. สิ่งเร้า(Stimulus) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึง ครู กิจกรรมการสอนและอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
3. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นการรับรู้จากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง การพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเริมแรงทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
สังเกตการเรียนการสอนที่ห้องเตรียมอนุบาล ซึ่งการมีจัดกิจวัตรประจำวัน ดังนี้

07.30 – 08.15 รับเด็กเป็นรายบุคคล
08.15 – 08.30 เข้าแถวเคารพธงชาติ
08.30 – 08.50 รับประทานนม
09.10 – 10.00 รับประทานอาหารว่างเช้า
10.10 – 10.30 กิจกรรมวงกลม
10.30 – 11.00 กิจกรรมสร้างสรรค์ การเล่นตามมุม
11.00 – 12.00 ล้างมือ รับประทานอาหารกลางวัน
12.00 – 14.00 นอนพักผ่อน
14.00 – 14.20 เก็บที่นอน ล้างหน้า
14.20 – 14.40 รับประทานอาหารว่างบ่าย
14.40 – 15.00 เกมการศึกษา

การสังเกต ณ.โรงเรียนเกษมพิษวิทยา